เรื่องราวของเพื่อนเรา… เจ้าตัวอ้วน (ตอนที่ 2)

ต่อจากตอนที่ 1

เจ้าตัวอ้วนในยุคทันสมัย

เมื่อเข้าสู่ศตวรรษที่ 20 ยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและการเมืองเข้าสู่โลกทวีปยุโรปและอเมริกา ปฏิกิริยาเชื้อเพลิงเปลี่ยนจากกลุ่มคนที่เคลื่อนที่ไปข้างหน้าอย่างศิลปิน นักเขียน หรือนักวิจารณ์ที่เรียกตัวเองว่าเป็นผู้ปฏิรูปสังคมและเศรษฐกิจ  และทำตัวเป็นกบฏต่อต้านวัฒนธรรมหลักและการปฏิวัติอุตสาหกรรม ไม่มีที่ไหนที่จะเคลื่อนที่เข้าสู่ยุคทันสมัยใหม่ได้มากไปกว่าการประกาศโฆษณา การออกแบบปกหนังสือ และศิลปะสิ่งพิมพ์ที่รุ่งเรืองอย่างมากในช่วงศตวรรษที่ 20 ค่ายฟอนต์ต่างตอบรับด้วยการเปิดตัวแบบตัวอักษรไม่มีหัวแบบใหม่ๆ อย่าง Bernhard Gothic, Agency Gothic, Gill Sans, Futura และ News Gothic

แฟตเฟซหรือแบบอักษรตัวหนาก็เข้าร่วมสนามนี้ด้วยเช่นกันและปรากฏตัวชนิดที่เรียกเสียงฮือฮาได้ไม่น้อย ด้วยการเปิดตัวจากค่ายฟอนต์สัญชาติเยอรมัน Stempel ในปี 1923 (Ratio Modern Extra Bold) ค่ายฟอนต์จากฝรั่งเศส Deberny & Peignot ในปี 1925 (Sphinx) American Type Founders ในปี 1928 (Ultra Bodoni) Linotype ในปี 1929 (Poster Bodoni) และ Monotype ในปี 1931 (Falstaff) จะเห็นได้ว่าแบบตัวอักษรตัวหนานั้นดึงดูดความสนใจได้ในระดับนานาชาติ

แบบอักษรตัวหนาขนาดใหญ่นั้นไม่ถูกใช้งานอย่างเป็นพิเศษเพื่อเรียกร้องความสนใจอย่างรุนแรงในการดิสเพลย์เป็นชื่อเรื่องอีกต่อไป แต่ถูกใช้อย่างสมเหตุสมผลในฐานะแบบตัว

อักษรที่เป็นส่วนเนื้อหาหรือขนาดเล็กแต่ยังอ่านได้ในฐานะองค์ประกอบเชิงดีไซน์ โดยธรรมชาติของแบบตัวอักษรนั้นควรจะสามารถส่งเสียงดัง ฉูดฉาด และเห็นได้ชัดเจน หรือจะส่งเสียงพูดอย่างเบาแต่ยังสื่อสารให้เห็นถึงความสวยงามได้ เหมือนกับการปรุงรสชาติให้กับอาหารที่จืดชืด แบบตัวอักษรตัวหนานั้นเพิ่มเติมลักษณะเฉพาะและรสชาติให้กับงานออกแบบที่เรียบง่าย

เชื่อมต่อศตวรรษ

หลายครั้งที่แฟชั่นเดินทางมาแล้วก็ไป นับตั้งแต่การคิดค้นแบบตัวอักษรตัวหนาของทอร์นครั้งแรกในปี 1803 จนถึงการฟื้นฟูคืนชีวิตใหม่ในอีกหลายครั้งตามมา จากยุควิกตอเรียนถึงยุคสมัยใหม่ แบบตัวอักษรตัวหนาหรือแฟตเฟซนั้นได้รับการจัดการให้ถูกนำเสนอในรูปแบบใหม่ๆ อยู่สม่ำเสมอ ภายใต้การดูแลของนักออกแบบระดับตำนาน ไม่ว่าจะเป็น เฮอเบิร์ท เบเยอร์, พอล แรนด์ และบรูโน มูเนอรี เป็นระยะเวลากว่าสองศตวรรษที่อิทธิพลและการเผยแพร่ของข้อความบนสิ่งพิมพ์นั้นเกิดขึ้นอย่างเป็นคู่ขนาน และแน่นอนว่าย่อมได้รับการติดตามมา

ฟื้นคืนใหม่ แปลความใหม่ และก้าวไปข้างหน้า

สิ่งหนึ่งที่เป็นข้อพิสูจน์ว่าสไตล์แฟตเฟซนั้นได้รับความนิยมมาอย่างต่อเนื่องนั้นก็คือ การเกิดขึ้นของแบบตัวอักษรตัวหนาดิจิทัลที่ได้รับการเปิดตัวในช่วงหลายปีที่ผ่านมา บ้างเชื่อว่าการฟื้นคืนชีวิตให้กับดีไซน์แบบเก่า บ้างคือการแปลความหมายใหม่ของประเภทไปอย่างสิ้นเชิง ผสมผสานไอเดียใหม่เหล่านั้นเข้ากับแบบตัวอักษรตัวหนาจากในอดีต

หมายเหตุ: บทความนี้แปลจาก The Story of Our Friend, the Fat Face เขียนโดย เจนนิเฟอร์ เคนนาร์ด (Jennifer Kennard)