ความนิยมในภาษาไทยมีหัว

ย้อนกลับไปเมื่อปีพ.ศ. 2559 คนไทยได้รู้จักกับการมี Google Font ภาษาไทย ซึ่งในปีนั้นส่วนใหญ่เป็นฟอนต์แบบมีหัว (loop terminal) จนเมื่อการเผยแพร่แบบตัวอักษรอนุสัญญาอนุญาตให้ใช้ฟรี (public domain) “13 ฟอนต์แห่งชาติ” สู่สาธารณะในปีพ.ศ. 2561 ที่ส่วนใหญ่เป็นแบบไม่มีหัว (loopless) การเปลี่ยนแปลงนี้จะเป็นปัจจัยส่วนหนึ่งที่ทำให้พฤติกรรมและทิศทางการใช้งานแบบตัวอักษรไทยเปลี่ยนไป

จากเจตนาของที่ คัดสรร ดีมาก ตั้งใจพัฒนาให้ผู้ใช้มีแบบตัวอักษรที่ดี มีมาตรฐานสำหรับใช้งาน จึงพบปริมาณการใช้งานที่มากขึ้น ความรู้ความเข้าใจทั้งจากผู้ใช้ทั่วไปและนักออกแบบที่มีต่อฟอนต์เป็นไปในทิศทางที่ดีมากขึ้น นั่นเป็นเพราะมีแบบตัวอักษรให้เลือกใช้มากขึ้น ง่าย สะดวก เราจึงได้เห็นหลายสื่อออนไลน์ทั้งเว็บไซต์หรือในโซเชียลมีเดียที่มีการเลือกใช้ Google Font มาประกอบมากภาพกราฟิกขึ้น

การมี Google Font ภาษาไทยนั้นจนมาถึงการเปิดตัว “13 ฟอนต์แห่งชาติ” จึงเป็นปัจจัยสำคัญในเปลี่ยนรูปแบบการเลือกใช้ฟอนต์ของภาษาไทยในอีก 5-10 ปีข้างหน้า จากตัวไม่มีหัว (loopless) สู่แบบตัวมีหัว (loop terminal) มากขึ้น นั่นเพราะสามารถเข้าถึงง่ายและมีน้ำหนักให้เลือกมากขึ้น ทั้งยัง เป็นแบบตัวอักษรอนุสัญญาอนุญาตให้ใช้ฟรี (public domain)

ความนิยมที่กำลังค่อยๆ เพิ่มมากขึ้นนี้ ในฐานะนักออกแบบ นักพัฒนา ตลอดจนผู้ใช้งานจึงควรเริ่มมองเห็นทิศทางนี้ เพื่อคาดการณ์ได้ว่าความเปลี่ยนแปลงที่จะมาถึงนั้นควรเตรียมตัวรับมืออย่างไร