Interview with Christa Skinner by Anuthin Wongsunkakon
บทสนทนาระหว่าง คริสต้า สกินเนอร์ และ อนุทิน วงศ์สรรคกร
ตีพิมพ์ครั้งแรกใน นิตยสารอาร์ตโฟร์ดี ฉบับที่ ๑๐๐ ธันวาคม ๒๕๔๕
➜ อันที่จริงแล้ว คริสต้า สกินเนอร์ ไม่ใช่ชื่อใหม่เลยในวงการออกแบบ ถึงแม้สาวเก่งผู้นี้จะมีอายุไม่มากมายเท่าไร แต่อายุการทำงานของเธอในถานะนักออกแบบอาชีพนั้นโชคโชนเลยทีเดียว สำหรับคนที่ติดตามอาร์ตโฟร์ดีมาตลอดชื่อของเธออาจจะได้เคยผ่านตาผู้อ่านไปบ้างแล้วเมื่อครั้งนิตยสารบลูที่เดวิทคาร์สันร่วมก่อตั้งเปิดตัวใหม่ๆเมื่อหลายปีก่อน
คริสต้า สกินเนอร์ จบการศึกษาวิชาการออกแบบมาจากวิทยาวัยฮารอนท์ ในรัฐอินเดียนา ซึ่งเป็นวิทยาสัยเกี่ยวกับศิลปะในเมืองเล็กๆ แต่ด้วยแววความสามารถของเธอที่ฉายโดดเด่น เธอจึงได้รับข้อเสนอพิเศษจากมหาวิทยาลัยชื่อดังหลายต่อหลายแห่งให้ศึกษาต่อในชั้นปริญญาโททันที เธอตัดสินใจลงเอยที่แคลิฟอร์เนียอินสติทิวส์ออฟอาร์ต โดยต้องการจะมุ่งหน้าสู่ฟั่งตะวันตก แต่แผนการดำเนินชีวิตของเธอก็เปลี่ยนไปเมื่อ เดวิท คาร์สัน ค้นพบความสามารถของเธอพร้อมกับยื่นข้อเสนอและโอกาสให้ คริสต้ากลายมาเป็นนักออกแบบคนสำคัญที่คาร์สันไว้วางใจปล่อยมือให้คุมทิศทางของนิตยสารเรย์กันและโปรเจคใหญ่ๆอีกมากมายของเดวิทคาร์สันดีไซน์
สปอต์ทไลท์เริ่มส่องมาที่เธออย่างเต็มที่เมื่อเธอได้ถูกรับเลือกให้เป็นนักออกแบบหน้าใหม่ยอดเยี่ยมจากงานยังกันส์ครั้งที่สามของเอไอจีเอ ร่วมกับอาร์ไดเร็คเตอร์คลับ นิวยอร์ค นอกจากนี้เธอยังได้รับรางวัลอื่นๆอีกมากมายอย่างต่อเนื่องนับไม่ถ้วน ปัจจุบันนี้ชื่อของคริสต้าเริ่มเป็นที่คุ้นหูมากขึ้นเพราะเธอได้แยกตัวออกจากเดวิทคาร์สันดีไซน์ ก้าวขึ้นมากำกับศิลป์ให้กับนิตยสารบลูอย่างเต็มตัว และมาเป็นเจ้าของสำนักงานออกแบบของตัวเองในชื่อ สกินเนอร์ดีไซน์ ที่เธอได้มีโอกาสทำงานในสำนักงานของตนเอง ท่ามกลางบรรยากาศสบายๆที่เธอฝันไว้ในรัฐเซาท์แคโรไลน่า
Christa Skinner is an art director & designer who graduated from Herrron School of Art 93 in Indiana and attended graduate school at California Institute of the Arts. Recruited by David Carson; working in his San Diego and NYC offices, she has worked on projects for Albert Watson Photography, AT+T, Jockey, Levi’s, MGM, Packard Bell, USWest, Vidal Sassoon, ZooTv, Nissan and RayGun, Speak, and Blue magaizines. In 1999, She founded her own company which is based in New York City.
Awards + Recognition:
Awards in ACD 100 Show and Communication Arts design annuals; work featured in Idea magazine from Japan, included in 1999 new visual artists review: Print magazine’s top 20 designers under 30, named as an emerging designer into the year 2000 by Metropolis Magazine, Judge for Society of Publication Designers annual competition, included in Young Guns 3 exhibition sponsored by Art Directors Club of NYC for designers under 30 in 2001.
You worked closely with Carson in his San Diego and New York studios. What the difference did you find between creating graphic design in California and New York?
คุณได้มีโอกาสทำงานใกล้ชิดร่วมกับ เดวิท คาร์สัน ในทั้งสองสำนักงานของเขา นิวยอร์ค และซานดิเอโก พอจะบอกถึงความแตกระหว่างการทำงานออกแบบในแคลิฟอร์เนีย และนิวยอร์ค สักหน่อยได้ไหม?
I believe working at Carson’s studio at both locations didn’t matter as much as it might have with other studios since most work was international and not locally driven. Personally, I feel the two quite different locations can influence a designer in many different ways as it did me. Mostly, it is about how we achieve our inspiration. To me, after experiencing the 2 extremes, I found more inspiration in NYC mostly because of the chaos in daily life. As simple as the walk in to work or the subway ride to meeting- the constant bombardment of signs/ people/ simple discoveries. I find more inspiration in chaos. That inspires me.
จริงอยู่ที่การทำงานในสองสถานที่ที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิงอาจจะทำให้รูปแบบของงานเปลี่ยนไป แต่สำหรับสำนักงานของ เดวิด คาร์สัน นั้นไม่ได้สร้างความแตกต่างสักเท่าไหร่ เหตุก็เพราะโจทย์ที่เราได้ล้วนเป็นโครงการระดับนานาชาติ เราแทบไม่มีความจำเป็นในการถ่ายทอดความรู้สึก หรือเรื่องของเมืองที่สำนักงานตั้งอยู่ลงไปบนตัวงาน แต่ถ้าวัดจากตัวเองแล้วในฐานะนักออกแบบคนหนึ่ง แน่นอนที่นิวยอร์คและแคลิฟอร์เนียมีความแตกต่างอย่างมาก ทั้งนี้ทั้งนั้นมันก็ขึ้นอยู่กับความชอบแล้วก็มุมมองส่วนบุคคล ต่างจิตต่างใจ สำหรับฉันเองแล้วคิดว่านิวยอร์คมีอะไรมากกว่าก็เนื่องมาจากความวุ่นวายที่เกิดรอบข้าง เอาแค่เดินไปทำงาน เดินไปลงรถไฟใต้ดิน เราก็ได้ประทะกับอะไรมามาย ตั้งแต่ป้ายโน่นนี่ต่างก็ถาโถมเข้าใส่เรา ความแปลกจากการแสดงออกทางบุคลิกภาพของผู้คนก็เป็นอีกสิ่งหนึ่ง มันมีอะไรมาวิ่งชนเราให้เราค้นพบได้ตลอดเวลา รู้สึกว่าได้รับอิทธิพลมากมายจากความโกลาหลเหล่านี้
Is its true that the big name clients who come directly to you are more open-minded and let you do what you think the best? Do you have to compromise with your clients and push it to the direction you want? Have you ever pictured yourself in formal corporate design firm and how would you adapt yourself into that kind of format?
ด้วยความที่เป็นนักออกแบบที่มีชื่อเสียง เป็นความจริงแค่ไหนที่เขาว่ากันว่าลูกค้าที่มาหาเราโดยตรงจะเปิดโอกาสให้เราทำงานในแบบของเราได้อย่างเต็มที่ คุณยังคงต้องกล่อมให้ลูกค้าซื้องานอยู่หรือเปล่า? แล้วเคยนึกภาพตัวเองว่าถ้าต้องไปนั่งทำงานออกแบบในรูปแบบของบริษัทออกแบบประเภทแบบแผนที่รับงานแบบทั่วไป คุณจะปรับตัวได้ไหมอย่างไร?
The big name clients always come via an ad agency from my experience, the agency chooses a designer because they know their style or approach will help sell their idea for the specific project.
There is almost always a compromise in any project. It just varies how much is sacrificed in the end, but if they come to you/ they come for a reason and I have discovered they usually refer to a specific piece of work or style wanted in approach to their project. Also, lately I have been working for myself and have discovered nearly all freelance projects have stemmed from a past project that was seen in my portfolio.
I do not picture myself in a corporate design firm. I really have no desire. I do my best work in a more relaxed environment, plus I never want to lose the hands-on approach. I am not at the stage where I am just to oversee other designers. To answer your question, I really have zero desire to adapt in that manner. I do however feel I could handle a specific project for a corporate client, I would just rather do it under my own roof.
จากประสบการณ์ของตัวเอง ลูกค้าที่มีชื่อเสียงมักติดต่อผ่านมาทางเอเจนซี จะว่าไปแล้วเอเจนซีก็เป็นคนเลือกเราอีกทีเพราะเขารู้ว่าเราทำงานสไตล์แบบไหน และมันสามารถช่วยเขาขายงานให้กับลูกค้าในโปรเจคนั้นๆได้หรือไม่
มันก็เป็นเรื่องปกติที่จะต้องมีการรอมชอมกันระหว่างนักออกแบบและเจ้าของกิจการหรือสินค้า มันก็อยู่ที่ว่าคุณจะยอมให้กันได้มากแค่ไหน ทั้งนี้ทั้งนั้นเขาตรงมาหาคุณ เขามาด้วยเหตุผลความต้องการบางประการที่นักออกแบบคนอื่นอาจไม่มี ส่วนใหญ่แล้วมักจะเอางานของฉันบางชิ้นมาแล้วบอกว่าต้องการประมาณนี้ ฉันได้ค้นพบกับสัจธรรมว่างานที่ดีจะมาหาเราอย่างต่อเนื่องเพราะงานดีที่เราทำออกไป
ไม่เคยแม้จะคิดไปทำงานในบริษัทออกแบบประเภทแบบแผนทำงานเก้าโมงเช้าถึงห้าโมงเย็น วันๆหาทางขายของให้ลูกค้าอย่างเดียว ฉันชอบทำงานในสภาพแวดล้อมที่ง่ายๆ และผ่อนคลาย แล้วก็ไม่อยากยกมือเสนออะไรในที่ประชุมแล้ววืดเพราะปัญหาต่างจิตต่างใจ สุดท้ายเราก็ต้องทำแต่ไม่ได้ทำอย่างที่เราคิด แล้วตัวเองก็ไม่ชอบที่จะต้องกำกับดูแลนักออกแบบด้วยกันเองในเชิงธุรกิจ ตอบคำถามคุณแบบตรงไปตรงมาก็คือ ไม่มีความคิดอยู่ในหัวเลยที่จะเอาตัวเองไปอยู่ในระบบแบบนั้น อย่างไรก็ดีฉันก็สามารถทำงานเพื่อลูกค้าเชิงธุรกิจได้อยู่แล้ว และก็ขอทำมันในลักษณะที่ฉันได้ควบคุมเองอย่างเต็มที่ดีกว่า
You turned down offers from Cranbrook and CalArts to go for a graduate degree and became professional on your own. Obviously from your today’s profile you don’t really need a master degree. Was it a tough decision to make at that time? I believe many designers would find that a tough choice to make. What were you thinking at that time?
สถาบันชั้นแนวหน้าทั้งครานบรู๊ค และแคลอาร์ต เคยเสนอให้คุณไปต่อปริญญาโทโดยไม่มีเงื่อนไขเพิ่มเติม แต่คุณกลับตัดสินใจเลือกที่จะเป็นนักออกแบบอาชีพ แน่นอนที่ทุกวันนี้คุณไม่มีความต้องการประกาศนียบัตรใดๆมารับรองความสามารถ เชื่อว่ามันเป็นการตัดสินใจที่ยากทีเดียวสำหรับข้อเสนอจากสถาบันที่มีชื่อเสียง ไม่ทราบว่าในช่วงเวลานั้นคุณคิดอย่างไร?
I actually did attend Calarts for one year working towards my graduate degree. Once I arrived there I quickly realized I was burnt out in the academic setting. That was my case because I was straight out of undergraduate school and hadn’t even experienced putting what I had learned into action. With that said, it still was a very hard decision. I was 1/2 way to a graduate degree and wondered if it made sense to let that go. For me it came down to economics and my desire to get experience in the field. I have no regrets with the path I chose.
ที่จริงแล้วฉันได้เลือกที่ไปใช้ชีวิตนักศึกษาปริญญาโทที่แคลอาร์ต ไปนั่งเรียนอยู่ได้ปีนึงก็รู้สึกว่าระบบการศึกษามันไม่เข้ากับความต้องการของตัวเรา มันคงเป็นปัญหาส่วนบุคคลกระมัง ส่วนหนึ่งก็คงเป็นเพราะว่าเราเพิ่งจะจบปริญญาตรีมาหมาดๆ จึงเกิดอาการเซ็งกับห้องเรียน ไหนจะร้อนวิชาอยากทำงานให้หายอยาก จะว่าไปมันก็เป็นการตัดสินใจที่ยากมากครั้งนึงเพราะเราเรียนไปตั้งครึ่งทางแล้ว เคยคิดเหมือนกันว่านี่เราคิดถูกหรือเปล่า ปัญหาเรื่องส่วนตัวการจัดสรรค์ค่าเทอมค่าใช้จ่ายบวกรวมกับความกระหายที่จะออกมาทำงานกับเดวิทมันก็เป็นตัวแปรใหญ่เหมือนกัน แต่ทุกวันนี้ก็ไม่เคยคิดเสียใจเลยแม้แต่น้อยกับการตัดสินใจของตัวเองในครั้งนั้น
You have mentioned Edwin Ultermohlen who had a great influence on your becoming a graphic designer. How did he have tremendous impact on you?
เท่าที่เราได้รู้จักกันมาได้ยินคุณพูดถึง เอ็ดวิน อุลเธอร์โมเลน บ่อยครั้ง ทราบว่าบุคคลนี้มีอิทธิพลต่อคุณในฐานะนักออกแบบเลขนศิลป์เป็นอย่างมาก อะไรที่เขาทำให้คุณประทับใจได้มากขนาดนี้?
I spent my first year in graphic design a bit bored and not understanding design. I really had little interest. I was at a fine art school and studied visual communication for no other reason,but a hope I could one day have a job/any job. Edwin Utermohlen arrived straight from Calarts my second year to teach typography. He was my biggest influence because he made graphic design fun and showed us that it isn’t just advertising. He turned it into something I had no idea it could be by showing us so many interesting avant- garde samples which sparked interest and desire. We were taught to leave a bit of ourselves in everything we did. He also always said: “if it looks good, it is good.” I follow that to this day no matter who the audience is. It keeps me on track, sometimes I get lost in the constraints of a specific project. It acts as a reality check when I start taking a project too seriously.
จำได้ว่าฉันใช้เวลาปีแรกในมหาวิทยาลัยแบบอยู่ไปวันๆ ไม่เข้าใจว่าอะไรคือการออกแบบเลขนศิลป์ ใจก็ไปสนกับเรื่องอื่นๆเสียหมด แถมที่คณะก็เน้นหนักทางด้านทัศนศิลป์เสียเป็นส่วนใหญ่ เราเขามาเรียนในสาขาการออกแบบ ตอนนั้นก็คิดเพียงแค่ว่าจบออกมาจะได้ทำงานหาเงิน งานอะไรก็ได้ จำได้ว่า เอ็ดวิน เป็นอาจารย์ใหม่ไฟแรงเพิ่งจบมาจากแคลอาร์ต เข้ามาสอนการออกแบบและจัดวางตัวอักษรในชั้นปีที่สอง เขากลายมาเป็นแรงผลักดันให้ฉันอย่างมหาศาล เขาทำให้ฉันเข้าใจว่าเลขนศิลป์ไม่ใช่เป็นเพียงรูปแบบของการขายสินค้า ก่อนหน้านั้นเราไม่ได้มองเลขนศิลป์ในมุมอื่นๆเลย เรามองมันเป็นงานเสริมธุรกิจโฆษณา เรามองข้ามเหตุผลเลขนศิลป์ในด้านอื่นๆไปหมด เอ็ดวินยังสอนให้ฉันพยายามที่จะแทรกภาษาของตัวเองไว้ในงานทุกชิ้นที่ทำ เขามักพูดเสมอ ว่าถ้ามันออกมาดูดี มันก็ดี คือใช้สายตาของนักออกแบบที่ดีในการสำรวจงานของตัวเอง เราต้องอยู่บนความเป็นจริงด้วย ฉันจำมาใช้จนทุกวันนี้ มันช่วยให้เราไม่แกว่งเวลาเจองานที่มีขอบเขตกว้างๆ บางทีเราเอาไม่อยู่ ทำๆไปออกนอกลู่นอกทาง ต้องถอยกลับมาเช็คเป็นระยะๆ
What change did you see in American’s design school and design education after you became professional? Do you feel that many design schools weight too much in media rather than design skill? What is your expectation from rookie designer
อยากให้ช่วยพูดถึงความเปลี่ยนแปลงที่คุณเห็นในการเรียนการสอนการออกแบบในอเมริกาหลังจากที่คุณเป็นนักออกแบบมืออาชีพแล้วมองกลับไป คุณมีความคิดเห็นอย่างไรกับการที่มหาวิทยาลัยให้ความสำคัญกับสื่อใหม่ๆ มากกว่าทักษะการออกแบบพื้นฐาน? คาดหวังอะไรบ้างจากนักออกแบบรุ่นใหม่ที่กำลังจะจบการศึกษา?
I have not been very close to academia since working. I don’t know what the overall emphasis is, but I do know that the basics must come first. The very basics with typography+ balance+ contrast , color, page composition, etc. Typography being the most important as that is what sets a good designer apart from the rest. I expect a rookie designer to be productive with a good eye.
ฉันไม่ได้ข้องแวะกับวงการการศึกษาเท่าไหร่นักหลังจากที่จบจากมหาวิทยาลัย ไม่รู้ว่าเขาสอนนักศึกษาให้เพ่งกับเรื่องอะไรเป็นหลัก แต่ที่ฉันรู้แน่ๆก็คือพื้นฐานการออกแบบที่แน่นและถูกต้องจำเป็นต้องมาก่อนประเภทของสื่อและรูปแบบ เรื่องพื้นๆ หลักการเบื่องต้น การจัดวางตัวอักษร ความสมดุล ความสัมพันธ์ของสีและการใช้พื้นที่ และอื่นๆ สิ่งเหล่านี้ต้องแม่น ฉันคิดว่าทักษะการจัดวางและเลือกใช้ตัวอักษรมีความสำคัญมาก มันสามารถเป็นเกณฑ์ที่ชี้ให้เห็นความแตกต่างระหว่างนักออกแบบที่เก่งกับนักออกแบบโหลๆทั่วไป สำหรับนักศึกษาที่กำลังจะจบการศึกษา ฉันก็คงอยากเห็นนักออกแบบรุ่นใหม่ผลิตงานที่ดีๆออกมาโดยผ่านการถ่ายทอดที่มีชั้นเชิง
I have read some reviews on the design of Blue. A remark that sounded very interesting is that the design of Blue delivers a feeling of web design in magazine form. Later on I happened to come across WebSight the book that you designed and it reminded me of that comment. How do you react to the comment and was it your intention to design Blue to look like website in print?
ได้มีโอกาสอ่านบทวิจารณ์ที่ใครต่อใครเขียนถึงนิตยสารบลู สิ่งหนึ่งที่ดูจะถูกเขียนถึงไปในทางเดียวกันก็คือ บลูให้ความรู้สึกของเว็ปในสื่อสิ่งพิมพ์ หลังจากนั้นก็ได้มีโอกาสเห็นหนังสือที่คุณออกแบบให้ในชื่อ เว็ปไซท์ (Web”Sight”) มันตอกย้ำให้นึกถึงบทวิจารณ์ที่กล่าวข้างต้น คุณมีความคิดอย่างไรกับคำวิภาคดังกล่าว? คุณตั้งใจหรือเปล่าที่ต้องการให้เกิดความรู้สึกแบบนี้ต่องานของคุณ?
I have heard that a lot also. I never got into web design when everyone else did because I began art directing Blue at that time. Maybe that is why?
The WebSights book definitely stemmed from the blue work. I was featured in print magazine and shorty thereafter I was asked to work on the book which was published by print’s book division. It doesn’t bother me that Blue mimmicks an approach that references the web. It is ironic now, as I am happier with Blue’s site at this time and hope to get the magazine more in the realm of blue.com.
อันนี้ได้ยินมาด้วยตัวเองเหมือนกัน ไม่รู้เหมือนกันนะ เพราะฉันเองก็ไม่เคยได้จับงานการออกแบบเว็ปไซท์ ก็มาเริ่มทำนิตยสารบลูนี่แหละตอนที่เว็ปเริ่มเป็นที่สนใจของนักออกแบบคนอื่น สงสัยเป็นเพราะมันเป็นห้วงเวลาเดียวกันหรือเปล่า อันนี้ก็ไม่รู้เหมือนกัน
หนังสือเว็ปไซท์จะว่าไปมันก็คืองานต่อเนื่องมาจากนิตยสารบลูนั่นแหละ ในขณะนั้นพอดีนิตยสารพรินส์ลงเรื่องและบทความเกี่ยวกับงานของฉัน ก็เลยมีการถามต่อกันมาเป็นทอดทอดว่าจะติดต่อนักออกแบบคนนี้ได้อย่างไร ประจวบกับเครือสำนักพิมพ์พรินส์จะเป็นผู้พิมพ์หนังสือเล่มนี้ ก็เลยได้มาออกแบบให้ ไม่เคยคิดไม่พอใจต่อคำวิจารณ์ที่ว่านิตยสารบลูละม้ายคล้ายคลึงกับการออกแบบเว็ปไซท์ มันก็แปลกดีออกจะเป็นการหยอกเล่นต่อการออกแบบเว็ปจากคนทำงานสิ่งพิมพ์ คิดๆดูก็ตลกดีที่ตอนนี้ฉันต้องมาออกแบบเว็ปไซท์ใหม่ให้นิตยสารบลู
It is so obvious that Blue is totally different in direction from the RayGun’s period. It is always very interesting to see the transition from time to time. Could you please talk about the transition period between from RayGun and Blue?
เห็นได้ชัดว่าบลูนั้นมีความแตกต่างโดยสิ้นเชิงจากยุคที่คุณทำเรย์กันมันมีความน่าสนใจเสมอเมื่อคุณพิจารณาพัฒนาการของสไตล์จากช่วงหนึ่งสู่อีกช่วงหนึ่ง ช่วยพูดถึงช่วงเปลี่ยนแปลงดังกล่าวหน่อยได้ไหม?
That was a goal to both myself and the publisher. From the start, I didn’t feel the two magazines should share a similar style since they are very different subject matters with different audiences.
I believe Blue looked the least like Raygun at the premiere issue. Though, I recall it was a struggle to take a new approach after my background of working with David Carson- the first issue took a long time to complete due to that challenge. The publisher requested a different overall feel which would be more appropriate for the audience. She was pushing for a cleaner and bolder look. After trying many different approaches, I decided to explore color as a major design element.
In Raygun, more of an abstract use photography, type and artwork is what made the magazine unique. Overall, Blue needed to show clear photographs of the trips and places to describe a story in a more realistic manner. With the use of type, I tried to limit the use of typefaces to a set amount with DIN being the main typeface throughout whereas Raygun was a showcase of new ideas in typefaces each issue.
I believe personally, I had so much freedom in my use of typography that I was trying to confine myself to a smaller pallette to see a different outcome. I find the two hard to compare as Blue was never referred to for its unique style such as Raygun was, but nor was it trying to ever focus on that as a main goal of the magazine from my standpoint as the art director.
มันเป็นจุดมุ่งหมายของฉันเองและก็เจ้าของหนังสือเองตั้งแต่ต้น แล้วมันก็ไม่น่าจะเป็นการสมควรที่นิตยสารสองฉบับจะมาใช้รูปแบบการจัดวางเหมือนกัน เพราะเนื้อหาของนิตยสารเองก็แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ไหนจะกลุ่มเป้าหมายของนิตยสารอีกหล่ะ
เล่มแรกของบลูก็ยังคงมีกลิ่นของเรย์กันอยู่บ้าง มันก็คงเป็นช่วงเปลี่ยนถ่ายที่ว่า จำได้ว่าฉันต้องทำงานอย่างหนักที่จะสลัดให้พ้นสิ่งที่ตัวเองเคยทำ และสิ่งที่เดวิททำไว้ เล่มแรกนี่เรียกว่าแทบตายเลยทีเดียว ฉันกับเดวิดใช้เวลากันมากที่จะเอาชนะความท้าทายดังกล่าว
ฉันลองทุกอย่างที่ขวางหน้าแล้วก็มาจบลงที่การจัดระบบเฉดสีที่จะใช้ใหม่ทั้งหมด เน้นการใช้ภาพมากให้ภาพพูดมากขึ้นกว่าที่เคย แล้วก็เปลี่ยนวิธีการใช้องค์ประกอบอื่นๆปลีกย่อย เช่นภาพที่ใช้ในเรย์กันจะออกเป็นแนวนามอธรรม บางส่วนนำมาจากงานศิลปะ ในขณะที่บลูจำเป็นต้องโชว์ภาพถ่ายสถานที่ท่องเที่ยวที่ต้องเห็นได้ชัด สำหรับการใช้ตัวหนังสือฉันเลือกที่ใช้ DIN เป็นหลักในการออกแบบตลอดเล่ม ในขณะที่เรย์กันเป็นการใช้แบบตัวอักษรเชิงทดลอง และใช้แบบใหม่อยู่ตลอดเวลา จะเห็นได้ว่าตอนนี้บูลไม่เหลือคราบของเรย์กันเลยแม้แต่น้อย แต่ก็เป็นการเปลี่ยนแบบค่อยเป็นค่อยไป
ส่วนตัวแล้วฉันเชื่อว่านิตยสารบลูให้อิสระอย่างมากในการเลือกใช้และจัดวางตัวอักษรและหน้ากระดาษ แต่ฉันเองกลับพยายามที่จะจำกัดตัวเองให้ทำงานในกรอบบางอย่างเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่แปลกออกไป มันเป็นเรื่องยากที่จะเปรียบเทียบระหว่างนิตยสารสองเล่มนี้ บลูอาจจะไม่เคยได้ถูกกล่าวถึงในเรื่องความผาดโผนเหมือนเรย์กัน หากแต่มันเป็นการโฟกัสที่ต่างจุดมุ่งหมายของตัวฉันเองในฐานะผู้กำกับศิลป์
You have been working on all kinds of exciting projects. Could you please share some unexpected or interesting experiences you have had?
คุณได้มีโอกาสจับงานที่น่าตื่นเต้นหลายต่อหลายครั้ง มีเหตุการณ์น่าสนใจ หรือคาดไม่ถึงมาเล่าสู่กันฟังบ้างไหม?
When I first started working with David in San Diego, he had an exhibition opening in Dusseldorf, Germany. He was late in sending the artwork for the exhibit and since it was in the San Diego office and he was already in Europe, he had me hand deliver it by the opening night. I stayed 2 days and returned to get back to work in San Diego.
The most interesting projects have come from my work with Cyclops Productions in New York City. At Cyclops I had the opportunity to work closely with the photographer Albert Watson who has shot many well-known people from all over the world. They would often be in his studio which made the work at his studio always interesting.
ตอนที่เริ่มทำงานกับเดวิดที่ซานดิเอโก ขณะนั้นเขากำลังจะมีงานนิทรรศการที่ดุชเซลดอฟในเยอรมันนี ทุกอย่างมันพลาดตกตารางเวลาไปหมด เดวิดเองก็ต้องบินล่วงหน้าไปงานอื่นที่ยุโรปในขณะที่งานทุกชิ้นยังกองอยู่ที่สำนักงานที่ซานดิเอโก เขาจึงโทรสั่งให้ฉันหอบทุกอย่างขึ้นเครื่องบินไปเยอรมันนี ไปถึงโน่นก็คืนวันที่จะมีพิธีเปิดงานนั่นแหละ ไปแขวนกันก่อนเปิดงานเลย เลยมีโอกาสได้เที่ยวสองวันก่อนที่จะต้องกลับมาจมกองงานตามเคยที่ซานดิเอโก
ส่วนงานที่น่าสนใจที่สุดก็เห็นจะเป็นตอนที่เราทำหนังสือไซคร๊อปให้ อัลเบิร์ท วัสสัน ตอนนั้นคาร์สันดีไซน์เพิ่งเปิดสำนักงานในนิวยอร์ใหม่ๆ เราก็ขอแบ่งพื้นที่สำนักงานกับไซคร๊อปโปรดักชั่นนั่นแหละ ก็อย่างที่ทราบๆกันว่า อัลเบิร์ท มักถ่ายภาพบุคคลที่มีชื่อเสียงเป็นส่วนใหญ่ ก็เลยได้มีโอกาสเจอะเจอบุคคลดังๆระดับโลกบ่อยครั้ง มันก็น่าสนใจตรงนี้แหละ
Type design is another subject that you are into. What are you working on at this moment?
ทราบว่างานออกแบบตัวอักษรก็เคยอยู่ในความสนใจของคุณ ไม่ทราบว่าตอนนี้มีอะไรน่าสนใจ หรือว่ากำลังซุ่มทำงานใหม่อยู่?
It has been years that I have sat down to design a typeface. I had a few fairly good successes, but don’t want to spend time on that anymore. I would just rather have someone else do it.
i guess my life has shifted and i would rather use my time to incorporate type into specific projects rather than spending that time to produce my own. on occasion, i have had to make a few characters to sell an idea, but in those cases it was not necessary to continue on with designing an entire font. i have also found that the experience from the past is helpful when designing logos. even though it is so different only developing a few characters as opposed to an entire alphabet.
In the early nineties at school, type design was encouraged at the acedemic level/ it was the thing to do at the time with new font companies popping up constantly. i am now busy with working and unfortunately; work as making the money being the main focus. To me, it is a matter of just not having the time or the desire to spend any extra time in front of the computer towards something that is difficult to profit from. i definately enjoyed designing typefaces and will always be looking for fresh ideas out there.
มันเป็นเวลาหลายปีมาแล้วนะที่ฉันเองมีความสนใจและเริ่มทำงานออกแบบตัวอักษร ก็ประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง แล้วเราค้นพบว่าเรายังอยากจะทำงานออกแบบเลขนศิลป์มากกว่า มันหมดความกระหายที่จะนั่งทำแบบตัวอักษรไว้ใช้เอง เลยคิดว่าขอเป็นผู้ใช้อย่างเดียวดีกว่า
ความสนใจต่อการออกแบบตัวอักษรของฉันถูกเบี่ยงเบนมาเป็นเรื่องของการนำไปใช้ให้ได้ดีและมีพลังมากกว่าการใช้เวลาในการสร้างขึ้นมา แต่นานๆทีก็ได้ใช้ทักษะเดิมที่มีในการออกแบบเพื่อนำมาใช้เฉพาะงาน อันนี้ก็มีบ้างเหมือนกัน บางทีก็ออกแบบสามสี่ตัวเอาเป็นไอเดียแล้วก็ส่งต่อให้ผู้ชำนาญการ กรณีอย่างนี้ก็ไม่ได้จำเป็นต้องทำให้เสร็จทุกตัวเสมอไป คือเราเอาไว้ใช้งานเองนิดๆหน่อยๆ อย่างไรก็ดีงานทดลองเกี่ยวกับการออกแบบตัวอักษรที่ผ่านๆมาของตัวเรามันช่วยได้เยอะมากกับทักษะการออกแบบโลโก้ ต่างกันก็แค่ตรงที่เราไม่ต้องออกแบบตัวอักษรทั้งชุด
สถาบันการออกแบบในยุคทศวรรษที่แล้วได้ผลักดันอย่างมากในเรื่องของการทดลอง ส่งผลให้เกิดแบบตัวอักษรใหม่ๆมากมาย ธุรกิจที่เกี่ยวข้องก็เกิดขึ้นตามมา ซึ่งล้วนเป็นเรื่องที่ดีต่อวงการการออกแบบโดยรวม กระนั้นก็ตามส่วนแบ่งทางการตลาดของฟอนต์มันไม่ได้มีมากนัก อันนี้คุณก็ทราบดี กรอปกับการแข่งขันที่สูงขึ้นทุกวัน ตอนนี้ฉันก็ได้แต่วุ่นทำงานปั่นเงินตัวเป็นเกลียว ก็ตามปกติที่เราต้องมีค่าใช้จ่ายต่างๆในแต่ละเดือน มันเลยไม่มีเวลาเหลือมาออกแบบตัวอักษร แต่ในใจแล้วก็ยังรักที่จะทำอยู่ถ้ามีเวลา แล้วก็ถ้ามีไอเดียที่ใหม่จริงๆ
Since Blue is an outdoor-travel magazine, I assume that you love to travel as well. At same time you are also a graphic designer. What the difference in vision did you see between a regular traveler and a traveler who is graphic designer?
จากการที่บลูเป็นนิตยสารเกี่ยวกับท่องเที่ยวเดินทางลุยๆแบบชีวิตกลางแจ้ง ก็เลยชวนให้สันนิฐานว่าคุณก็คงจะชอบการท่องเที่ยวแบบนี้เช่นกัน ในขณะที่ตัวเองก็เป็นนักออกแบบเลขนศิลป์ด้วย ไม่ทราบว่าเลขนศิลป์มันทำให้ทัศนวิสัยและมุมมองต่อการท่องเที่ยวเดินทางของคุณต่างไปจากนักท่องเที่ยวทั่วไปอย่างไร?
I love to travel. It feeds my creativity. Seeing new things inspires me. The difference: I find more beauty in a grubby found sign on the road than the ‘beautiful’ mountain range behind the ‘ugly’ sign.
i get inspiartion from my surroundings and travel feeds into that. i find that inspiration from signs to the people i meet while away, the landscape and the mostly the freedom of travel itself. i thrive on seeing new things. i am looking for surprises constantly/ traveling at every chance.
when I spoke of the grubby sign, i meant that last summer i traveled out west with a friend. he is in finance, but has an interest in photography and discovered quite a different “eye” than mine which is not bad at all- just different. To illustrate that, we stopped in an old mining town for some lunch. We had been driving a long time an there was an unbelievable dramatic backdrop to the sign of mountains a blue sky. We both got out of the car and he took a photograph of the breathtaking view we had stumbled upon. I walked to a different part of the parking lot near the trash cans where I spotted a sign. He didn’t quite understand why I found more beauty in the worn out sign than the surrounding we were in.
Looking back on the experience and looking at my photo again… I wish I would have taken the ugly sign home to put up in my house. Maybe i will use it a project someday.
แน่นอนฉันเป็นคนชอบท่องเที่ยวเหมือนกัน มันช่วยขยายฐานความคิดสร้างสรรค์ของเรา แล้วก็ได้เห็นอะไรแปลกใหม่ที่เราสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในงานของเราได้ ความแตกต่างที่เรามีจากนักท่องเที่ยวทั่วไปก็คงเป็นในเรื่องของมิติที่เราเห็นความสวยงามของการออกแบบในที่ต่างๆ จากป้ายข้างถนนบ้าง หรือสัญลักษณ์แปลกๆบ้าง มันมากกว่ามิติที่เราเห็นแค่ความงามของทัศนียภาพของภูเขาต้นไม้ข้างทาง แต่เรามองเห็นความสวยของป้ายน่าเกลียดๆที่อยู่รอบข้างด้วย
อย่างเช่นล่าสุดเมื่อฤดูร้อนที่ผ่านมาได้ไปเที่ยวกับเพื่อนที่เป็นนักการเงินการธนาคาร เขาชอบถ่ายรูปเป็นชีวิตจิตใจ เราเองก็ชอบถ่ายรูปอยู่แล้ว พอไปเที่ยวด้วยกันก็ได้เห็นอะไรบางอย่างที่แตกต่าง ซึ่งข้อแตกต่างนี้มันก็ไม่ได้เสียหายอะไร แต่มันตอบคำถามที่คุณถามมา เราขับรถไปก็หยุดแวะชมทัศนียภาพที่สวยงามสองข้างทางเป็นระยะๆ เราทั้งคู่ก็เริ่มตั้งหน้าตั้งตากดชัทเตอร์กันอย่างเมามัน ฉันมารู้สึกตัวอีกทีก็ตอนที่ตัวเองมายืนเล็งถ่ายรูปป้ายข้างถังขยะห่างออกไปไม่ไกลจากที่จอดรถ เพื่อนก็เลยงงๆว่าทำไมเราไปจดๆจ้องๆถ่ายรูปป้ายเครอะสังกะสีอยู่ข้างถังขยะ แทนที่จะชักภาพวิวรอบข้าง คือเขาไม่เข้าใจว่าเราเห็นอะไร ว่าแล้วก็อยากจะขโมยป้ายนั้นใส่รถกลับบ้าน ก็เลยได้แต่รูปถ่ายเก็บเอาไว้ นี่ก็จ้องจะหาโอกาสเอามาใช้ในงานออกแบบเมื่อเจอโจทย์ที่อำนวย
©2003 Behaviour Press / สำหรับตีพิมพ์ในนิตยสาร art4d