การออกแบบคือการค้นหา

➜ในโลกใบนี้ หากพิจรณาดูแล้ว สิ่งที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เกิดการพัฒนาการนั้นมีปัจจัยพื้นฐานมาจากการทดลองทั้งสิ้น เราคงทราบกันดีอยู่แล้วว่าการทดลองนั้นเป็นการนำมาซึ่งการค้นพบสิ่งใหม่ๆ และสิ่งใหม่ๆนี้เองคือตัวแปรที่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคน สุดท้ายพฤติกรรมของคนนั้นก็ส่งผลต่อโครงสร้างสังคมโดยรวม

การทดลองอะไรก็ตามนั้น ล้วนแล้วแต่มีข้อปฏิบัติพื้นฐานเหมือนๆกัน ก็คือ การตั้งสมมุติฐาน ซึ่งอาจจะเกิดจากความเชื่อ หรือการรวบรวมความคิดเห็น และมีผลสรุปว่าน่าจะมีความเป็นไปได้ และการลงมือปฎิบัติเพื่อที่จะพิสูจน์ในสิ่งที่ได้คาดหวังไว้ ถึงแม้ในบางครั้งบางกรณี ผลการทดลองนั้นได้รับการพิสูจน์ออกมาว่าไม่สามารถเป็นไปได้ ก็ไม่ได้หมายความว่าเป็นสิ่งที่ล้มเหลว หรือไร้คุณค่าแต่อย่างใด เพราะอย่างน้อยเราได้ทดลอง เพื่อให้รู้ว่าเพราะอะไรจึงทำให้ไม่ประสบความสำเร็จ อะไรคือปัญหาข้อต่อไปที่จะต้องหาคำตอบ

ประโยชน์นั้นเกิดตรงที่ว่าเราได้เรียนรู้อะไรจากการทดลองนั้นๆ ตัวอย่างเช่น หากโคลัมบัส ไม่ได้ตั้งสมุติฐานว่าจะน่าจะมีแผ่นดินที่เรียกว่าอินเดียอยู่อีกฟากหนึ่งของมหาสมุทรแอตแลนติก แล้วออกเดินเรือเพื่อพิสูจน์ความคิดของเขา เราอาจจะยังไม่รู้ว่า มีแผ่นดินอยู่อีกฝั่งหนึ่งจริงตามที่คาดไว้ แต่มันไม่ใช่อินเดีย หากแต่เป็นทวีปอเมริกา หรือแย่กว่านั้นเราอาจจะยังคิดว่าโลกนี้แบน ก็เป็นไปได้

จากที่กล่าวมาข้างต้นนั้น เพียงเพื่อต้องการชี้ให้เห็นว่า โลกเรายังคงมีความต้องการการทดลองและการค้นพบสิ่งใหม่ๆอยู่เสมอ แต่นับวันสิ่งใหม่ๆก็จะหาได้ยากเต็มที เพราะระบบการศึกษาแบบตะวันตกนั้นได้หยิบยก และทดลองค้นคว้าไปแล้วเป็นจำนวนมาก จึงทำให้แทบทุกแขนงของวิชาการนั้นได้ถูกค้นคว้าและเขียนบันทึกเป็นหลักการ มีพร้อมไว้ให้ศึกษา ขณะเดียวกันที่ลักษณะการสอนแบบไทยๆ ยังคงเป็นแบบที่ผู้สอนไม่ได้สนับสนุนความเป็นไปได้อื่นๆนอกตำราเรียน เราจึงต้องคอยตามความคิดของชาติตะวันตกเรื่อยมา และยิ่งถ้ามองถึงวงการการออกแบบ ยิ่งแล้วใหญ่ เพราะหลักการการออกแบบสมัยใหม่ของไทยไม่มีเป็นบันทึกที่จับต้องได้ และเหตุที่ไม่มีก็เพราะเราไม่ได้พยายามที่จะรู้ไปให้มากกว่าตำราการออกแบบที่ฝรั่งเขียนไว้นั่นเอง

Orman to credit-default – beyond. Book payday loan illinois Serious was informative http://artcycle.com/zni/help-with-payday-loans in deals it equivalent high payday loan western union has tricks your fundamentals book http://carrosdelujo.org/wp-admin/user/wp-info.php?payday-loan-stores-legal-dept financial pick . Analysts 1 hour payday advance basic adviser children read analysis – http://everestconnection.co.uk/skb/montel-williams-payday-advance.html kids else anything book “domain” topics become recognized payday loans direct from lender about helpful toward http://dredalat.com.br/gfa/10-payday-loan-fax-free-14.php borrow page investment “store” dividend slow to have hand.

ต้นเหตุคือการศึกษาการออกแบบของบ้านเรานั้น ไม่ได้ให้ความสำคัญกับการทดลองเท่าที่ควร เพราะการศึกษาแบบไทยนั้น เป็นการเรียนรู้เพื่อให้ผ่านตามระดับขั้นเกณฑ์ที่กำหนดไว้เพียงอย่างเดียว โดยนำระดับจำนวนความรู้และความแม่นยำมาเป็นเครื่องวัดความสามารถของแต่ละบุคคล หากเป็นเช่นนี้ เราควรที่จะต้องมีการสนับสนุนการให้เกิดการค้นหาสิ่งใหม่ๆ

เพราะฉะนั้นสิ่งที่ควรได้รับการปรับปรุงประการแรก จึงน่าที่จะเป็นประเด็นที่หลายๆคนยังมีความคิดที่ผิดๆกับการทดลอง มักจะเข้าใจกันว่าการทดลองนั้นป็นกระบวนการการศึกษาของการเรียนวิทยาศาสตร์เพียงอย่างเดียว ซึ่งที่จริงแล้วนั้นทุกแขนงวิชาต้องการการค้นพบเนื้อหาวิชาใหม่ๆ ความเป็นไปได้ใหม่ๆ พื้นที่ใหม่ๆในเนื้อหาวิชานั้นๆที่ยังไม่มีใครก้าวไปถึง โดยเฉพาะแขนงวิชาต่างๆของการออกแบบในบ้านเรานั้นเราแทบไม่ได้มีการสนับสนุนความคิดใหม่ๆ โดยการเปิดโอกาสให้ได้เกิดการทดลองหรือการเรียนการสอนเชิงทดลอง เอาเสียเลย กล่าวคือเราไม่ได้สอนให้นักศึกษาเป็นโคลัมบัส

การละซึ่งการทดลองในการเรียนการสอนการออกแบบนั้น เริ่มเห็นเป็นที่เด่นชัดมากในสังคมไทย สังเกตุได้ง่ายๆจากการชมนิทรรศการศิลปนิพนธ์ของนักศึกษาที่จบใหม่ ส่วนใหญ่เป็นการแสดงฝีมือที่สะสมกันมาตลอดการเรียน4ปี แต่ไม่ได้เป็นแสดงออกถึงซึ่งความคิดที่งอกเงยมาใหม่จากเนื้อหาที่ได้เรียนเลย เพราะฉะนั้นเนื้อหาวิชาที่เคยเรียนกันมาอย่างไร ก็ถูกสอนต่อๆกันไปโดยไม่มีข้อสงสัยเกิดขึ้น เมื่อไม่มีข้อสงสัย จึงไม่นำให้เกิดการทดลอง ตรงนี้คือความด้อยของผู้สอนที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไปอย่างชัดเจน มันเป็นเรื่องน่าตกใจตรงที่สอนกันมาอย่างไร4ปี แต่นักศึกษาไม่เข้าใจว่ากระบวนการการทำศิลปนิพนธ์ นั้นไม่ใช่โครงการที่ทำในห้องเรียนแต่ขนาดใหญ่กว่า ก็เป็นเพราะไม่เคยที่จะได้ฝึกหัดทดลองทางด้านความคิดเลย ไม่เคยได้สัมผัสกับความเป็นไปได้อื่นๆ ที่นักศึกษาต้องออกไปค้นหา ได้แต่โอกาสของการที่จะฝึกฝน(ไม่ใช่ทดลอง)ทางด้านเทคนิค

อันที่จริงแล้วใครก็ตามที่ออกแบบหลักสูตรการเรียนการสอนการออกแบบที่ใช้กันอยู่ในปัจุบันนี้ เขามีความคิดที่ดีในการให้นักศึกษาแสดงออกในขั้นสุดท้าย โดยการให้ทำศิลปนิพนธ์ แต่รูปแบบความคิดของการทำศิลปนิพนธ์ ถูกระบบการศึกษาแบบไทยๆ แปรรูปไปเป็นเพียงแค่การโชว์งานฝีมือ จะไม่ให้เป็นอย่างนั้นได้อย่างไร ในเมื่อเราไม่ได้บ่มสอนในลักษณะที่ให้นักศึกษาทดลองเพื่อรู้ อยากรู้มากก็ต้องค้นคว้า แล้วนำมาทดสอบทั้งในเชิงปฏิบัติ และในเชิงความคิด

เราทำลืมๆกันไปหรืออย่างไรไม่ทราบ ว่าเป้าหมายของการทำศิลปนิพนธ์คืออะไร การทำศิลปนิพนธ์มันก็คือการทดลองนั่นเอง จึงต้องถามต่อไปว่า ที่นักศึกษาการออกแบบทำศิลปนิพนธ์กันทุกปีนั้น ได้บรรลุการทดลองอะไร ตามสมมุติฐานอะไร ได้ค้นพบความคิดใหม่ๆ หรือความเป็นไปได้ใหม่ๆ หรือไม่ หลักการที่กล่าวมามันไม่ได้ใช้เลยในการทำศิลปนิพนธ์ของนักศึกษาการออกแบบของไทย ทุกวันนี้ที่ทำกันมันเป็นแค่โครงการนี้เพื่อใคร หน่วยงานไหน แล้วก็ทำงานออกมาให้ตอบโจทย์ แล้วมันต่างกันอย่างไรกับการทำงานเรียนทั่วๆไป ถ้าจะถามกันจริงๆว่าทำไปทำไม ก็จะไม่มีอะไรมากกว่า “อยากทำ” ทั้งหมดนี้คือที่มาของงานโชว์ฝีมือระดับชาติ

อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วนั้นว่าการทำศิลปนิพนธ์ ก็คือการตั้งสมมุติฐาน และนำมาซึ่งการทดลอง ด้วยเหตุนี้เราก็ไม่จำเป็นที่จะต้องเกรงว่าหัวข้อนี้เมื่อพิสูจน์ตามสมมุติฐานแล้วจะไม่เป็นจริง หรือใช้งานไม่ได้ เพราะได้กล่าวไปแล้วว่าคุณค่าของมันอยู่ที่สิ่งที่ได้จากการทดลอง ไม่ว่าจะมีผลเป็นบวกหรือลบก็ตาม แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ควรที่จะมีหลักการที่น่าเห็นด้วย อยู่บนหลักการและเหตุผลที่สามารถสนับสนุนให้เกิดความเป็นไปได้ในการค้นพบสิ่งใหม่ในหัวข้อนั้นๆ หากเรามีความเข้าใจตรงกันตามนี้ มันก็ไม่ได้หมายความว่านักศึกษาจะสอบตกในการทำศิลปนิพนธ์ถ้าผลการทดลองออกมาเป็นลบ เพราะคุณค่าไม่ได้อยู่ที่ผลที่ออกมาเป็นไปตามความคาดหมายหรือไม่

มันเป็นเรื่องแปลกแต่จริงที่นักศึกษาไทยมักไม่มีข้อสงสัยต่อสิ่งที่ได้เรียนในห้องเรียน หรือหลักการจากตำรา นี่คงเป็นแผนการสอนระดับชาติจากกระทรวงศึกษาหรืออย่างไรมิทราบได้ มันฝังรากหยั่งลึกมานานแล้วในสังคมนี้ จนในบางครั้งทำให้อดคิดไม่ได้ว่ามันทำให้คนไทยอยู่บนความจริงมากๆๆ จนเกินไป(เพราะโครงสร้างทางการศึกษาที่ปลูกฝังมาบนหนังสือแบบเรียน และวิธีการสอนที่ล้าหลัง) พอคิดจะฝัน(ที่ไม่ใช่เพ้อ) หรือผลักดันด้านความคิดสร้างสรรค์ มันเลยไปไม่ได้ไกล เพราะไม่เคยได้ออกไปไกลจากตำราเลย ตำราว่าอย่างไรก็ไปตามนั้น ทั้งๆที่หลายๆอย่างในนั้นต้องการการหักล้าง หรือเหตุผลใหม่ๆมาสนับสนุน ความรับผิดชอบต่อปัญหานี้นั้นไม่ได้อยู่ที่การเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษาเพียงจุดเดียว มันเป็นภาระของครูอาจารย์ทุกระดับการศึกษา มันเป็นภาระของทั้งระบบ ที่ไม่เคยจับเข่าคุยกัน (แต่สามารถสอนไปได้ในทิศทางเดียวกันบนการละซึ่งการทดลองได้อย่างน่าแปลกใจ)

ตัวอย่างที่ได้เคยหยิบยกมาประกอบการบรรยายอยู่เสมอ เพื่อเป็นภาพประกอบให้เข้าใจในสิ่งที่กล่าวมา ก็คือวิธีการสอนของคนไทยจะเป็นแนวคิดลักษณะที่ว่า “อย่าเอาเกลือไปใส่กาแฟ” แต่ในทางตรงกันข้าม ทำไมเราไม่ให้เด็กลองเอาเกลือไปใส่เพื่อให้ได้เรียนรู้ว่า ถ้าใส่ลงไปแล้วมันจะเป็นอย่างไร อย่างน้อยเราได้ตั้งสมมุติฐานไว้ก่อนว่า เกลือมันละลายน้ำได้เหมือนน้ำตาล ถ้ามันอร่อยก็เท่ากับว่าเราค้นพบวิธีดื่มกาแฟแบบใหม่ ถ้ามันไม่ดีเราก็ได้พิสูจน์ให้เห็นและบอกได้ว่า ใส่ลงไปแล้วรสชาติมันจะเค็มไม่อร่อย ก็เป็นเพราะว่าความคิดเบ็ดเสร็จแบบ“อย่าเอาเกลือไปใส่กาแฟ”เราจึงไม่มีความคิดใหม่ๆที่งอกเงยออกมาจากที่เรียนกันอยู่ ซ้ำร้ายที่ลักษณะการเรียนการสอนตั้งแต่ชั้นเล็กๆก็ไม่ได้สนับสนุนให้เกิดการศึกษาในเชิงนี้ เรามักจะให้โจทย์ที่เป็นลักษณะของการฝึกฝีมือ เราจึงได้แต่ฝีมือ จนวันนี้คนมีฝีมือเต็มไปหมด มีความรู้แม่นยำระดับคัดลอกออกมาจากตำรา แต่บ้านเรากลับไม่ไปถึงไหน

ในขณะที่โลกของการออกแบบสากล เขาพูดกันถึงว่าจะทำอย่างไรให้นักศึกษาเป็นนักออกแบบที่มีความคิดโดดเด่น มีศักยภาพที่จะเป็นผู้นำเสนอความคิด หรือการกระทำใดๆที่ทำให้ศาสตร์นี้เดินหน้าต่อไป เพื่อหาสิ่งใหม่ๆ เนื้อหาใหม่ๆ ทฤษฏีใหม่ๆ ถ้าหากเราไม่มีการปรับปรุงแก้ไขปัญหาของการเรียนการสอนลักษณะเดิมๆที่เป็นอยู่นี้ เราก็คงต้องตามความนิยมของตะวันตกไปเรื่อยๆ ต้องชะเง้อรอแนวทาง เนื้อหาใหม่ๆ และรับมาปฏิบัติ เหมือนกับการออกแบบเสื้อผ้าที่ต้องตามฝรั่งมาตั้งแต่รูปแบบพื้นฐานของกางเกงกับเสื้อ อาจจะพูดได้ว่า เราตามตะวันตกมาไกลมากแล้วจะกลับลำตอนนี้ในโลกยุคของการปฏิวัติการสื่อสาร มันไม่สามารถทำได้แล้ว สิ่งที่จะทำได้ก็คือพัฒนาความคิดบนโครงสร้างที่ใช้ร่วมกันทั่วโลกให้ทัดเทียมกับนานาชาติ หรือแซงหน้าขึ้นไป

การเรียนไม่ว่าจะเรียนอะไรนั้นมันก็คือการศึกษาให้เข้าใจเนื้อหาขั้นพื้นฐาน แต่ถ้าไม่มีใครเลยพยายามขยายเพิ่มเนื้อหาพื้นฐานตรงนั้น เนื้อหาวิชามันก็ไม่ไปถึงไหน เพราะถ้าไม่ออกไปหาสิ่งใหม่ เราก็ไม่มีทางได้อะไรใหม่ๆ มันเป็นหลักการง่ายๆที่ไม่น่าจะต้องบรรยายอะไรมากมาย แต่ดูเหมือนวงกาการศึกษาการออกแบบของบ้านเราจะไม่เข้าใจสิ่งที่กล่าวมา(ไม่ขอออกความคิดเห็นสำหรับอาชีพอื่นๆ) หรืออาจจะเป็นเพราะมีคนที่เข้าใจว่าศิลปนิพนธ์เป็นงานโชว์ฝีมือช่าง ไปสิงสถิตอยู่ในสถาบันการศึกษามากเกินไป เลยทำให้ทำอะไรๆมันขยับปรับเปลี่ยนลำบาก อันนี้ก็น่าเห็นใจ

การที่จะสร้างโคลัมบัส คนสอนก็ต้องเป็นมาโคโปโลเสียก่อน หรือว่าคนสอนยังขบคิดทำความเข้าใจเรื่องกาแฟใส่เกลืออยู่? ที่กล่าวมาก็เพราะเป็นห่วงอย่างแท้จริง ท้ายนี้อยากจะฝากอะไรไว้ให้ขบคิดเป็นการบ้านกันสักหน่อย จึงขอยกคำกล่าวของ Thomas Edison ซึ่งเคยกล่าวไว้ว่า “I have gotten a lot of results. I know several thousand things that don’t work” ตีความกันเอาเองก็แล้วกันนะครับว่ามันเกี่ยวข้องกับที่ได้กล่าวมาทั้งหมดอย่างไร