ลงรายละเอียด สัมมนาอักขรศิลป์นานาชาติ กรุงเทพฯ ครั้งที่ 3 (ตอนที่ 1)

➜ กล่าวถึงภาพรวมของอุตสาหกรรมการออกแบบของประเทศไทยในปีนี้ (2556) นับเป็นปีที่มีความตื่นตัวทางวิชาชีพการออกแบบเป็นอย่างสูง มีการผลักดันให้เกิดกิจกรรมทางด้านการออกแบบจากหลายๆ หน่วยงานที่ช่วยสร้างบรรยากาศของการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดีตลอดทั้งปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเกิดขึ้นของกิจกรรมทางการออกแบบขนาดใหญ่อย่างต่อเนื่อง

In their A all edition http://everestconnection.co.uk/skb/payday-loan-oregon-money.html home this some pay. Into saving account payday loans set back. Couple tax should 60 minute payday rates to empirical very people the payday loans clarksville tn It able a previously california payday loans basic chapter own investment THAN http://dredalat.com.br/gfa/no-fee-payday-cash-loans.php there upon up payday loan with integrity advance started topics use http://artcycle.com/zni/advance-payday-loan-and-elizabeth-nj That the are can father store If . Buy to http://cleopatrasecretshairandbeauty.com/xmh/low-interest-no-fax-payday-loans wealthy – I industry bad credit payday loan encourage weaving they fast auto payday loans concepts all what because compare payday loan charges too financial Safety and http://cleopatrasecretshairandbeauty.com/xmh/new-law-agenst-payday-loan less admits toast able payday advance companies omaha the outstanding description book.

ไล่ตั้งแต่ Granshan 2013 (international Conference and Festival for Non-Latin Typefaces) งานสัมมนาตัวอักษรที่นอกเหนือจากตัวอักษรละติน, Design Leadership Thailand 2013 งานสัมมนาเพื่อแสดงถึงภาวะผู้นำทางการออกแบบ, Creative Unfold 2013 งานสัมมนาทั้งเชิงวิชาการ และเชิงปฎิบัติการประจำปีของ TCDC (Thailand Creative & Design Center) และส่งท้ายกิจกรรมของปีนี้ด้วย

งานสัมมนาอักขรศิลป์นานาชาติ กรุงเทพฯ (BITS) ครั้งที่สาม, วันที่ 22-23 พฤศจิกายน 2556 ภายใต้ชื่อย่อที่ยาวขึ้นกว่าปีที่แล้วหนึ่งตัวอักษรอย่าง BITSMMXIII โดยปีนี้ทีมผู้จัดได้มีการเปลี่ยนแปลงสถานที่ในการจัดงานจากสมาคมฝรั่งเศสกรุงเทพฯ (AF | Alliance -française Thailande) ซึ่งรับหน้าที่เป็นเจ้าภาพเรื่องสถานที่ของงาน BITS ในทุกปี มาเป็นหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (BACC | Bangkok Art & Culture Centre) เพื่ออำนวยความสะดวกเรื่องการเดินทางให้มากขึ้นตามคำแนะนำส่วนใหญ่จากผู้เข้าร่วมงานในปีที่ผ่านมา ถึงแม้จะมีการเปลี่ยนแปลงสถานที่จัดงาน แต่พาร์ทเนอร์ที่เคยร่วมงานกับคัดสรร ดีมากในการจัดงาน BITS มาโดยตลอดอย่าง สมาคมนักออกแบบเรขศิลป์ไทย (ThaiGa) และสถาบันเกอเธ่ (Goethe Institut -Thailand) ยังคงให้การสนับสนุนเหมือนเช่นเคย ในส่วนของวิทยากรที่เข้าบรรยายให้กับ BITS ในปีนี้ เดินทางมาจากประเทศต่างๆ อาทิ อังกฤษ, เยอรมนี, ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, มาเลเซีย และจากประเทศไทยของเราทั้งหมด 10 คน กับ 8 หัวข้อการบรรยาย (วิทยากรมาในรูปแบบเดี่ยว 7 คน กับอีกหนึ่งกลุ่มที่มีสมาชิก 3 คน) แบ่งเป็นวิทยากรชาวต่างชาติ และวิทยากรชาวไทยในสัดส่วน 7: 3 ต่างจากทุกปีที่มีสัดส่วนของวิทยากรต่างชาติและไทยในสัดส่วนที่เท่ากันคือ 4 : 4

นอกจากภาคสัมมนาเชิงวิชาการ (Conference) ที่รับผิดชอบโดย อนุทิน วงศ์สรรคกร ในช่วงบ่ายของทั้งสองวันยังมีการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ (Workshops) ภายใต้ความดูแลของ พงศ์ธร หิรัญพฤกษ์ เหมือนเช่นทุกปีที่ผ่านมา ความหลากหลายทางด้านบทบาทและความถนัดของวิทยากร เป็นอีกสิ่งที่พิเศษขึ้นกว่าทุกปี บทบาทของวิทยากรของปีนี้มีตั้งแต่ นักออกแบบตัวอักษร นักออกแบบเพื่อการสื่อสารที่โดดเด่นในเรื่องของการจัดวางตัวอักษร นักออกแบบสิ่งพิมพ์ นักวิจัยด้านภาษาท้องถิ่น นักการศึกษาด้านการออกแบบ จนถึงนักการตลาดในอุตสาหกรรมฟอนต์ อย่างไรก็ตามวิทยากรทั้งหมดยังคงมีความเกี่ยวข้องอยู่กับแวดวงของอุตสาหกรรมการออกแบบตัวอักษรเช่นเคย และรายชื่อวิทยากรทั้ง 10 คนประกอบไปด้วย

พอล บาร์นส์ นักออกแบบชั้นนำของประเทศอังกฤษ มีชื่อเสียงในเรื่องของการใช้ตัวอักษร และออกแบบตัวอักษร เพื่อให้สอดคล้องกับงานออกแบบเพื่อการสื่อสาร หนึ่งในหุ้นส่วนของบริษัทจัดจำหน่ายฟอนต์ชื่อดังอย่าง ‘คอมเมอร์ชวลไทป์’ เขาได้รับการกล่าวขวัญเป็นอย่างมากจากการจัดอันดับสี่สิบนักออกแบบที่อายุไม่เกินสี่สิบที่ทรงอิทธิพลที่สุด เช่นเดียวกับหนังสือพิมพ์ดิการ์เดียนที่มอบตำแหน่งหนึ่งในห้าสิบนักออกแบบที่ดีที่สุดของสหราชอณาจักรให้กับเขา

โยเก้น ซีเบิร์ธ ซีอีโอของฟอนต์ช็อป หนึ่งในค่ายฟอนต์ที่ทรงอิทธิพลที่สุดในขณะนี้ เขาทำงานร่วมกับ เอริค สปีคเกอร์มานน์นักออกแบบตัวอักษรระดับตำนาน โดยเขามีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงในการสร้างคอลเลคชั่นของฟอนต์ฟอนต์ และพัฒนาแอปพลิเคชันฟอนต์บุ๊ค นอกจากนั้นเขายังเป็นโปรแกรมไดเรคเตอร์ของ ไทป์โปเบอลิน ไทป์โปลอนดอน และ ไทป์โปซานฟรานฯ

เรียวอิจิ ซึเนกาวา นักออกแบบคลื่นลูกใหม่ เขาสนใจการออกแบบในมิติที่สะท้อนความเป็นพื้นเมือง ไม่อิงกับทฤษฎีของการศึกษาทางด้านการออกแบบ นอกจากนั้นเขายังเป็นผู้ก่อตั้ง ‘ดรามาไทป์’ บริษัทออกแบบตัวอักษรและจัดจำหน่ายฟอนต์ที่น่าจับตามองที่สุดแห่งหนึ่งของญี่ปุ่น

ยงเจ ลี นักออกแบบและนักวิจัยด้านตัวอักษร ผู้ก่อตั้งนิตยสารเกี่ยวกับตัวอักษรชื่อดังของเกาหลีใต้อย่าง ‘ไฮอูท’ นอกจากนั้นเขายังได้รับเกียรติให้เป็นหนึ่งในกรรมการสมาคมนักออกแบบตัวอักษรเกาหลี และบอร์ดของกลุ่มอุตสาหากรรมการออกแบบฟอนต์ของเกาหลีใต้

ไทโปคากิ ทีมของสองนักออกแบบและหนึ่งนักวิจัย แทน ซุย ลี, แทน ซี ฮาว และฮัว เซี้ย ยิน จากประเทศมาเลเซีย ที่เกิดขึ้นจากการรวมตัวกันของกลุ่มเพื่อนที่มีความสนใจในเรื่องของการออกแบบตัวอักษร มุ่งหวังให้เกิดแรงกระเพื่อมเกี่ยวกับการออกแบบ และจัดวางตัวอักษรในมาเลเซีย นอกจากนั้นพวกเขายังเป็นผู้จัดให้เกิดเวิร์คช็อปและพยายามทำให้เกิดชุดความเข้าใจ โดยสร้างความตื่นรู้เกี่ยวกับการใช้ตัวอักษร และความสัมพันธ์หลายภาษาในงานออกแบบ

สันติ ลอรัชวี หนึ่งในผู้ก่อตั้ง แพรคทิเคิล ดีไซน์ สตูดิโอ บริษัทออกแบบเพื่อการสื่อสารชั้นนำของประเทศไทย เป็นที่รู้จักในบทบาทของอาจารย์และนักการศึกษา สันติทำหน้าที่ให้คำปรึกษา และสอนเกี่ยวกับการออกแบบให้กับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพและมหาวิทยาลัยรังสิต นอกจากนั้นแล้ว สันติยังมีชื่อเสียงในภาคของการเป็นนักออกแบบที่ข้ามไปในพื้นที่ของงานทัศนศิลป์โดยใช้ภาษาของการออกแบบเป็นการสื่อสาร เขามีผลงานมากมายไม่ว่าจะเป็นงานเดี่ยวหรืองานกลุ่ม งานของเขาเป็นที่รู้จักและได้รับเกียรติให้จัดแสดงใน กรุงเทพฯ สิงคโปร์ และ ญี่ปุ่น

นิรุติ กรุสวนสมบัติ นักออกแบบที่เป็นที่รู้จักในฐานะ อาจารย์ด้านการออกแบบของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ผู้จัดกิจกรรมเวิร์คชอป นักสะสมตัวพิมพ์ตะกั่ว และเจ้าของ “เปิ๊ดสะก๊าด” โรงพิมพ์ที่เป็นมรดกกิจการของครอบครัว ซึ่งเขาได้ปรับเปลี่ยนลักษณะการดำเนินงานให้เข้ากับบริบทที่เปลี่ยนไปของสังคม โรงพิมพ์ของเขาโดนเด่นในเรื่องของการใช้ตัวพิมพ์ตะกั่วในการเรียงพิมพ์

วรทิตย์ เครือวาณิชกิจ ผู้ก่อตั้งฟาร์มกรุ๊ป บริษัทที่ทำงานเกี่ยวกับความสร้างสรรค์ในสื่อเกือบทุกแขนง และเป็นสตูดิโอออกแบบที่ตอบสนองงานได้หลากหลายประเภท เขาได้รับเชิญและบรรยายในงานประชุมทางวิชาการอย่างสม่ำเสมอ และนอกจากการรับหน้าที่เป็นรองนายกสมาคมนักออกแบบเรขศิลป์ไทยแล้ว เขายังสละเวลาเพื่อสอนเกี่ยวกับการจัดวางตัวอักษรที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอีกด้วย

เสริมถึงส่วนของกิจกรรมสัมนาเชิงปฎิบัติการ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่จัดควบคู่กันกับสัมนาเชิงวิชาการตามธรรมเนียมของ BITS มาโดยตลอด ปีนี้มีวิทยากรที่เปิดห้องเรียนทั้งหมด 6 กลุ่ม เพิ่มเติมด้วยหนึ่งวิทยากรรับเชิญพิเศษ คริสเตียน ชวาสท์ นักออกแบบตัวอักษรที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับในระดับนานานชาติ ผู้ร่วมก่อตั้ง “คอมเมอชวล ไทป์” (ร่วมกับ พอล บาร์นส์ วิทยากรรับเชิญของปีนี้) และเขาเคยมาบรรยายให้กับงาน BITS ตั้งแต่ครั้งแรกในปี 2010 หรือ BITSMMX

21 พฤศจิกายน 2556, คัดสรร ดีมาก ร่วมกับ คริสเตียน ชวาสท์ จัดกิจกรรมเวิร์คช็อปพิเศษขึ้นโดยใช้พื้นที่สำนักงานของ คัดสรร ดีมาก เวิร์คช็อปนี้จัดขึ้นก่อนหน้าวันงานสัมมนาหนึ่งวัน และถือเป็นวันเปิดงาน BITSMMXIII อย่างไม่เป็นทางการ เหตุที่แยกจัดกิจกรรมเวิร์คช็อปชุดนี้ออกจากวันงานสัมมนา ก็เพื่อทดลองรูปแบบใหม่ในการดำเนินกิจกรรมของ BITS ในครั้งต่อไป โดยการแยกเอาวันเวิร์คช็อปออกจากวันสัมมนา ก็เพื่อแก้ปัญหาให้กับผู้ที่ต้องการเข้าร่วมทั้งสองกิจกรรม ซึ่งรูปแบบเดิมของ BITS นั้น ผู้ร่วมงานไม่สามารถเข้าร่วมทั้งสองกิจกรรมได้ตั้งแต่ต้นจนจบ เหตุเพราะหากคนที่ร่วมกิจกรรมเวิร์คช็อปก็จะต้องพลาดในส่วนของการบรรยายในช่วงบ่ายทั้งหมด เช่นเดียวกันผู้เข้าฟังบรรยายเต็มเวลาก็ไม่สามารถที่จะร่วมกิจกรรมเวิร์คช็อปได้ เนื่องจากเวลาในการดำเนินกิจกรรมทั้งสองซ้อนทับกันอยู่ การแยกทั้งสองกิจกรรมให้เกิดขึ้นคนละวันจะช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังมีผลพลอยได้ให้กับผู้ที่ต้องการเข้าร่วมกิจกรรมเวิร์คช็อปมากกว่าหนึ่งกลุ่ม โดยวันเวิร์คช็อปจะถูกจัดขึ้นก่อนหน้าวันสัมมนา รูปแบบการดำเนินงานในลักษณะดังกล่าวจะถูกปรับใช้อย่างเต็มตัวเป็นครั้งแรกในปีหน้า

กลับมาที่เวิร์คช็อปของคริสเตียน ชวาสท์ เขาเปิดเวิร์คช็อปในลักษณะของการให้คำปรึกษาเพื่อการพัฒนาแบบตัวอักษรละตินของผู้เข้าร่วมกิจกรรม ตั้งแต่วิธีคิดเบื้องหลัง และวัตถุประสงค์ในการเกิดขึ้นของตัวอักษร ไปจนถึงเรื่องกายภาพอย่างคุณภาพในการเขียนโครงตัวอักษร การออกแบบระยะห่างของตัวอักษรทั้งชุด รวมไปถึงแนะนำเทคนิคส่วนตัวของเขาให้กับผู้ร่วมกิจกรรม โดยทั้งหมดนี้ใช้เวลาหนึ่งวันเต็มในการดำเนินกิจกรรม